บทสัมภาษณ์ นิตยสารชีวิตรัก

เส้น ทางแห่งชีวิต

“ ไม่มีใครแก่เกินเรียน ” การเรียนไม่มีคำว่าสายจริงๆ ยืนยันได้จากเส้นทางชีวิตของสาวไทย ผู้มีความมุมานะ มุ่งมั่น ยิ่งเมื่อมีโอกาสพัฒนาตัวเอง กับการใช้ชีวิตในต่างแดน เธอจึงไม่ยอมให้โอกาสดีนั้นๆผ่านเลยไปอย่างเด็ดขาด ไปติดตามเรื่องราวชีวิตของเธอพร้อมกันเลยนะคะ ดิฉันชื่อ นิตยา บูทเนอร์ (โพนเงิน) เกิดที่อำเภอ กมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 6 คน ดิฉันเป็นลูกคนสุดท้อง ปัจจุบันอายุ 38 ปี มีลูกชายสองคน คนโตอายุ 17 ปี คนเล็กอายุ 5 ปี สมรสกับ Mr. Markusชาวเยอรมันเมื่อปี1997 คุณมาร์คูสทำงานเป็น ผอ.ประชาสังคมสงเคราะห์ (Lebenshilfe )ที่เมือง Eutingen ประเทศเยอรมนี ดิฉันได้รับการศึษาต่อ ในโรงเรียนมัธยมที่ประเทศเยอรมนี ต่อมาก็สอบรับใบประกาศนียบัตรหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ และได้ศึกษาต่อด้านการตลาด ปัจจุบัน ทำงานเป็นลูกจ้างผู้ชำนาญงานด้านวิชาชีพ REWE Markt GmbH. และกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาบริการฯ ต่างประเทศแผนการศึกษา หลักสูตรบริการธุกิจบัณฑิต (การจัดการ)

ย้อนกลับไปเล่าเรื่องการเดินทางมาเมืองไทยครั้งที่สองของคุณมาร์คูส หลังจากที่เรารู้จักกันในครั้งแรกแค่สามวันแล้วเขาจำเป็นต้องเดินทางกลับ ประเทศเยอรมนี การมาครั้งที่สองของเขานั้น ดิฉันได้ช่วยดูแลพาไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ ซึ่งเขาทำตัวสุภาพกับดิฉันมาก บอกกับดิฉันเสมอว่า เราเป็นเพื่อนกัน ก็คือเพื่อนกันจริงๆ ไม่คิดเลยเถิดเรื่องชู้สาวแม้แต่น้อย ต้องใช้เวลาเรียนรู้กันไปก่อน เป็นเวลาสองสัปดาห์เต็มที่เราได้เรียนรู้กัน และเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกันทั้งสองฝ่าย หลังจากที่เขาเดินทางกลับไปเยอรมนีในครั้งนั้น เขาก็โทรมาขอดิฉันแต่งงาน ดิฉันดำเนินการขอวีซ่าแต่งงานและเดินทางมาประเทศเยอรมนีและใช้ชิวิตคู่ด้วย กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดิฉันรู้สึกประทับใจชีวิตความเป็นอยู่ของคนเยอรมันในเรื่องการจัดการ สวัสดิการสังคมที่ดี มีเงินประชาสงเคราะห์ เงินเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่ แรกเกิดจนถึง 18 ปี มีการจัดการเรื่องประกันสุขภาพที่ได้มาตรฐานและครอบคลุม เวลาเจ็บป่วยและแพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยโรคแล้ว แพทย์จะเขียนใบสั่งยาให้ จึงจะสามารถซื้อยาอันตรายได้ เพราะร้านขายยาจะขายยาอันตรายตามใบสั่งของแพทย์เท่านั้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรการเพื่อป้องกันการนำยาอันตรายไปใช้ในทางที่ผิด มีประกันตกงาน ถ้าคุณตกงานอย่างน้อยก็ได้รับเงิน ช่วยเหลือ 60% ของเงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับ ในช่วงสามเดือนแรก มีเงินสวัสดิการผู้สูงอายุ ที่คำนวณจากอายุงานและการเสียภาษีจริง หลังจากปลดเกษียณเมื่ออายุ 67 ปี มีกฎหมายคุ้มครองผู้เยาว์ เด็กอายุ 16 ปี จึงจะสามารถ ซื้อไม้ขีดไฟได้ (กฎหมายคุ้มครองไฟใหม้ป่า) ซื้อเบียร์และไวท์ได้ (กฎหมายคุ้มครองป้องกัน การติดเครื่องดื่มมึนเมา) อายุ 18 จึงจะสามารถซื้อบุหรี่ สุราได้

สิ่งที่ดิฉันไม่ค่อยประทับใจ ก็คือพวกชาตินิยม ที่ชอบดูถูกชาวต่างชาติ และสภาพอากาศที่แปรปรวน กว่าจะได้ทำงานที่มั่นคงในประเทศเยอรมนีนั้น ดิฉันได้เรียนภาษาเยอรมันในปี 1997-1998 จากนั้นก็ยังเรียนภาษาต่อที่ (Institut für ausländische Beziehungen in Stuttgart)และเรียนระดับมัธยมที่โรงเรียนมัธยม ( Arlinger Schule in Pforzheim) พอจบมัธยม เริ่มหาเรียนวิชาชีพ แต่ที่ประเทศเยอรมัน ต้องฝึกงานก่อน เลยไปปรึกษา กรมแรงงานแนะแนวอาชีพ และการศึกษา(berufsberatung) ในตอนนั้นดิฉันอายุยังไม่ถึง 25 ปี กรมแรงงานจึงส่งให้ไป สัมมนาพัฒนาการด้าน วิชาชีพ ซึ่งในหนึ่งสัปดาห์ ต้องฝึกงานสามวัน (ลงสนามจริงภาคปฏิบัติ) และอีกสองวัน ก็สัมมนาภาควิชาการ ดิฉันต้องไปฝึกงานที่บ้านพักคนชรา โดยไม่ได้รับค่ าจ่าง แต่กรมแรงงานเป็นผู้จ่ายค่าแรงให้ สมัยนั้นก็ 380 DM (มาร์ค)เพราะถ้าเรียนสาย วิชาชีพ ต้องมีภาคปฏิบัติ ถ้าไม่มีที่ใดรับฝึกภาคปฏิบัติ ก็จะไม่สามารถเรียนได้ ต้องฝึกงานอยู่สองปี ถึงได้เข้าเรียนหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุชีวิตช่วงนั้นลำบาก และเหนื่อยมาก ไม่ได้ทำงานกับ ชาวเยอรมัน เพราะชาวเยอรมันจะทำงาน เป็นผู้บริหารมากกว่า การทำงานกับ แรงงานกึ่งทักษะ เขาจะใช้แรงงานต่างชาติ อย่างเดียวกับที่ประเทศไทย ใช้แรงงานเขมร ลาว ประเทศเยอรมนีก็ใช้แรงงานชาวรัสเชีย และโปแลนด์ แต่มีข้อแตกต่างกับที่เมืองไทยก็คือที่เยอรมันจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพจึงจะ มีโอกาสเข้าทำงานได้ พอจบหลักสูตรแล้ว เขากลับไม่รับลูกจ้างผู้ชานาญงานด้านวิชาชีพเข้าทำงาน เพราะค่าแรงสูง จึงตกงานหนึ่งปี ช่วงที่ตกงานจึงไปเรียนและสอบใบอนุญาตขับขี่รถยนต์
และสมัยที่อยู่เมืองไทย ดิฉันคยทำงานเป็นพนักงานห้างสรรพสินค้ามาก่อน จึงได้ขอใบผ่านงานเป็นภาษาอังกฤษมาและเก็บใส่ลิ้นชักไว้นานจนแทบจะลื้ม บังเอิญมีประกาศรับสมัคงานด้านการตลาด เลยต้องเรียนสายอาชีพอีกรอบ เมื่อได้มาทำงานด้านการตลาด อยู่ฝ่ายการเงิน จึงได้ทำงานกับชาวเยอรมัน อย่างแท้จริง พวกเขาจริงจังกับงานมาก ตรงเวลา เวลาไม่สบายต้องมีใบรับรองแพทย์ ลูกจ้างจะได้รับค่าแรงตามปกติ เงินปันผลพิเศษ จะออกสองครั้งต่อปี ซึ่งมากพอที่จะเดินทางไปพักผ่อน ยังประเทศต่างๆได้ จึงมีฝรั่งมาเที่ยวประเทศไทยเยอะ

เนื่องจากดิฉันมีความรู้ความสามารถ ในการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาเยอรมัน จึงเคยให้ความช่วยผู้หญิงไทย ตั้งแต่ เรื่องใกล้ตัวอย่างการโอนเงินไปให้ญาติที่เมืองไทย บางคนเขียนหนังสือไม่ได้ หรือบางคนปิดบังแอบส่งเงินไปให้ญาติที่เมืองไทย โดยไม่ให้สามีรู้ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินกับเพื่อนคนไทยรายหนึ่ง ที่สามีของเธอหัวใจล้มเหลว เสียชีวิตกะทันหัน เธอมีลูกสาว อายุแค่ 3ปี มีเงินในกระเป๋าเพียง 50 ยูโร ดิฉันต้องพาไปถอนเงินที่ธนาคาร แต่ไม่สามารถถอนได้ เพราะสามีไม่ได้ทำใบมอบอำนาจไว้ พวกเราชาวไทย เลยช่วยกันรวบรวมเงินให้เธอเอาไปจัดการงานศพ กว่าเธอจะเบิกเงินได้ต้องขึ้นศาล และทยอยจ่ายคืนให้เพื่อนคนไทยที่ให้ความช่วยเหลือ เป็นเวลานานร่วมปีจึงใช้คืนได้หมด การดูแลเลี้ยงลูกชาย หลังจากรับเขามาอยู่ด้วย ตั้งแต่เมื่อเขาอายุ 6 เดือน เนื่องจากเขาซนมาก นั่งไม่อยู่เป็นที่ เรียกร้องความสนใจ ชาวเยอรมันเรียกว่าป่วยเป็นโรค Aufmerksamkeitsdefizitsyndrom (ADS) ดิฉันกลุ้มใจมาก เลยส่งให้ไปเรียนดนตรีเล่นกีต้าร์ อยู่สามเดือน ได้แสดงโชว์ โซโล่ ชนะการประกวด ระดับเมือง แล้วไประดับภาค ก็ชนะ จึงส่งไปแข่งขันระดับประเทศ ไม่ได้อับดับหนึ่งของประเทศ แต่ได้รับประกาศยบัตร และรับเหรียญตราประจำจังหวัด ได้รับการสนับสนุนจาก Goethe-Institut ได้ไปแสดงโชว์ ที่ประเทศรัฐเชีย ที่ศูนย์วัฒนธรรม และที่มหาลัยหลายแห่ง มีโครงการจะไป แสดงที่อเมริกาและสิงคโปร์ นอกจากความสามารถด้านดนตรีแล้ว เขายังเป็นนักกีฬา เล่นฟุตบอลให้กับสมาคม และเป็นนักวิ่งระยะไกล ซึ่งส่วนใหญ่ที่ไปแข่งขันก็ชนะมาแทบทุกครั้ง จึงมีเหรียญ ใบประกาศเก็บไว้มากมาย เรื่องเรียนก็อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ แต่ก็ต้องติดถามผลงาน พ่อแม่จะเผลอไม่ได้ ต้องคอยประคับประคองกันเป็นระยะ ๆ ส่วนลูกคนที่สอง เกิดที่ประเทศเยอรมัน รัฐบาลให้ลาพักเลี้ยงลูกได้สามปี มีเงินสงเคราะห์ และมีเงินสงเคราะห์เด็ก แต่ดิฉันได้ลาเลียงลูกแค่สองปี และได้พาลูกๆเดินทางไปเที่ยวที่ประเทศไทยทุกปี ดิฉัน มีโครงการจะกลับไปอยู่เมืองไทยในวัยเกษียณ สามีเคยบอกว่าจะใช้ชีวิตที่เยอรมันหกเดือนในฤดูร้อน อีกหกเดือนหลังซึ่งเป็นฤดูหนาวจะไปใช้ชีวิตที่ไทย อยากฝากข้อคิดว่า การที่จะปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตในต่างแดนได้อย่างปกติสุขนั้น คนเราไม่ว่าจะอยู่ไหน ต้องทำงาน ถ้าคุณใช้เงินของหยาดเหงื่อแรงงาน ของตัวเองแล้วคุณจะมีความสุข ภูมิใจที่สุดในชีวิตค่ะ และขอเป็นตัวแทนของหญิงไทยเพื่อระบายความในใจว่า การแต่งงานกับฝรั่ง ใช่ว่าผู้หญิงไทยทุกคนจะมีเบื้องหลังที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ละคนมีที่มาแตกต่างกันไป แม้ว่าบางคนอาจจะมีการศึกษามาน้อย เพราะโอกาสไม่อำนวยก็ตาม แต่ทุกคนสามารถพัฒนาตัวเองได้ เส้นทางแห่งชีวิต ที่ไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ ถ้าเรารักการอ่าน แสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ รู้จักใช้ชีวิตในทางสร้างสรรค์ ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ก็จะมีแสงสว่างในดวงใจ และประสบความสำเร็จในชีวิตได้ในที่สุดค่ะ นี่คือหญิงไทยผู้เป็นแบบอย่างของการไขว่คว้า ศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังเป็นต้นแบบที่ดีให้กับลูกชายได้อย่างแท้จริง ที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าหญิงไทย หากมีความตั้งใจจริง ก็มีศักยภาพด้านการศึกษาไม่ด้อยไปกว่าชาติใด ทีมงานชีวิตรักหวังว่าเรื่องราวของเธอจะเป็นแรงบันดาลใจ กระตุ้นเตือนให้ผู้อ่าน ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน พัฒนาความรู้ ตามที่มีโอกาสอำนวย ไม่มัวหลงลืมเพลิดเพลินปล่อยโอกาสด้านการศึกษาให้ผ่านไป แล้วต้องกลับมาเสียดายกันภายหลังนะคะ ศรีวลี หลิน สัมภาษณ์

แสดงเพิ่มเติม

137K

เข้าชม

69

เพิ่มลงคลัง

836

ถูกใจ

0

ดาวน์โหลด

93

ความคิดเห็น